วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

โครงการสัมนา


"ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที"





สิ่งที่ได้จาก โครงการสัมนา "ผู้บริหารยุคใหม่ เข้าใจ ทันภัย กฎหมายไอที"



  • ได้รับความรู้เรื่องกฎหมายไอทีต่าง ๆ ว่าทำอะไรที่ผิดกฎหมาบ้าง อันไหนไม่ผิด
  • ได้กินขนมและนมอร่อย ๆ
  • ได้รับความสนุกสนานจากการเข้าร่วมสัมนา จากพิธีกรและรุ่นพี่ปี 4




IPV6

IPv6 คืออะไร


     IPv6 คือมาตรฐานการสื่อสารระหว่างประเทศ ใช้สำหรับรับส่งชุดข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ IPv6 header มี 128 บิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุดข้อมูล และยังรวมถึงแอดเดรสต้นทางและปลายทาง และบิตควบคุมอื่นๆ
แอดเดรส IPv6 แบบ 128 บิต จะแทนด้วยกลุ่มตัวเลขฐานสิบหก จำนวน 8 กลุ่ม ซึ่งคั่นด้วยเครื่องหมาย : ตัวอย่างเช่น

2001:0db8:0000:0000:0000:0000:0000:0001

    เนื่องจากความยาวของฟอร์แมตนี้ แอดเดรส IPv6 จึงสามารถย่อได้โดยตัดศูนย์ที่นำในกลุ่ม 16 บิต ตัวอย่างเช่น

2001:db8:0:0:0:0:0:1

จากนั้น ศูนย์กลุ่มที่อยู่เรียงกัน จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องหมาย :: ตัวอย่างเช่น

2001:db8::1

การกำหนดแอดเดรสอัตโนมัติของ IPv6


     คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอื่นๆ อาจถูกกำหนดแอดเดรส IPv6 แบบไดนามิคโดยใช้วิธีการกำหนดค่าอัตโนมัติ แอดเดรส Media Access Control (MAC) แบบ 48 บิต ที่ต้องเชื่อมต่อ Ethernet ของอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถเก็บไว้ใน EUI-64 ตามที่อธิบายใน “Guidelines for 64-bit Global Identifier (EUI-64) Registration Authority “จาก Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE)

     ในการใช้ฟอร์แมต EUI-64 ตัวกำหนดอินเทอร์เฟส IPv6 แบบ 64 บิต อาจสร้างขึ้นได้ทั่วโลก นอกจากนี้ ตัวกำหนดอินเทอร์เฟสนี้ยังสามารถใช้การกำหนดเองได้ ตามแผนการกำหนดหมายเลขของโฮสต์เอง ตัวอย่างเช่น

แอดเดรส MAC สำหรับ PC คือ 00:26:08:e7:b2:f6

แอดเดรส IPv6 ที่กำหนดให้ PC โดยใช้ฟอร์แมต EUI-64 คือ 2001:db8::0226:08ff:fee7:b2f6

    บิตที่สำคัญน้อยที่สุดเป็นอันดับสองของไบต์ที่สำคัญที่สุดของแอดเดรส หรือที่เรียกว่า Universal/Local จะเป็นตัวกำหนดการจัดการแอดเดรส IPv6 แอดเดรสจะถูกจัดการอย่างสากลหากบิตเป็น 0 และจะจัดการเฉพาะจุด หากบิตเป็น 1 ตัวอย่างเช่น

ตัวเลขฐานสิบหก 0 = 00000000 (ตัวเลขฐานสอง)

ตัวเลขฐานสิบหก 2 = 00000010 (ตัวเลขฐานสอง)

ข้อดีและข้อเสียของ IPv6


     IPv6 ไม่ได้เป็นเพียงการขยายพื้นที่ไอพีแอดเดรส แต่ยังเป็นอินเทอร์เน็ตโพรโทคอลใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงและขยายจาก IPv4 ข้อดีที่สำคัญที่สุดของรูปแบบอินเทอร์เน็ตแอดเดรสใหม่นี้คือมีพื้นที่แอดเดรสจำนวนมาก จึงทำให้มีไอพีแอดเดรสจำนวนมากจนนับไม่ถ้วน

     ระบบ IPv6 ที่ใช้แอดเดรส 128 บิต สามารถรองรับแอดเดรสได้ถึง 2^128 (340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456) ซึ่งมากกว่าแอดเดรส 32 บิตจากระบบ IPv4 ปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 4,300 ล้านแอดเดรส อยู่ถึง 79 ล้านล้านเท่า
ดังนั้น ประโยชน์อีกประการของ IPv6 คือสามารถขยายแอพพลิเคชั่นส์และบริการใหม่สำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทั่วโลก โดยสามารถเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียระหว่าง IPv6 และ IPv4 ได้ตามรายละเอียดในตาราง 1

ตาราง 1: IPv4 vs. IPv6

อ้างอิง




Wifi Standard





Wifi Standard



     IEEE 802.11a  ความเร็วในการส่งข้อมูลให้วิ่งได้สูงถึง 54 Mbps บนความถี่ 5Ghz ซึ่งจะมีคลื่นรบกวนน้อยกว่าความถี่ 2.4 Ghz ที่มาตรฐานอื่นใช้กัน ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น แต่ว่าข้อเสียก็คือ ความถี่ 5 Ghz นั้น หลายๆประเทศไม่อนุญาตให้ใช้ เช่นประเทศไทย เพราะได้จัดสรรให้อุปกรณ์ประเภทอื่นไปแล้ว และเนื่องด้วยการที่มาตรฐานนี้ ใช้การเชื่อมต่อที่ความถี่สูงๆ ทำให้มาตรฐานนี้ มีระยะการรับส่งที่ค่อนข้างใกล้ คือ ประมาณ 35 เมตร ในโครงสร้างปิด(เช่น ในตึก ในอาคาร) และ 120 เมตรในที่โล่งแจ้งและด้วยความที่ส่งข้อมูลด้วยความถี่สูงนี้ ทำให้การส่งข้อมูลนั้นไม่สามารถทะลุทะลวงโครงสร้างของตึกได้มากนัก

     IEEE 802.11b  ความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz เนื่องจากการใช้คลื่นความถี่ที่ต่ำกว่าอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน IEEE 802.11a ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้มาตรฐานนี้จะมีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณไปได้ไกลกว่าคือประมาณ 38 เมตรในโครงสร้างปิดและ 140 เมตรในที่โล่งแจ้ง

     IEEE 802.11g  ความถี่ 2.4 Ghz จึงทำให้ใช้ความเร็ว 36-54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตรฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน มาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้

     IEEE 802.11n  ความเร็วสูงสุดถึง 300 Mbps มีความสามารถในการส่งคลื่นสัญญาณ ได้ระยะประมาณ 70 เมตรในโครงสร้างปิด และ 250 เมตรในที่โล่งแจ้ง เพิ่มความสามารถในการกันสัญญาณกวนจากอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ความถี่ 2.4GHz เหมือนกัน และสามารถรองรับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ได้


อ้างอิง


วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

The architecture of the network

สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย


     สถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย (Network Architecture) หรือโทโปโลยี (Topology) คือลักษณะทาง กายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่ายซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการ ออกแบบ พิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลักๆ มีดังต่อไปนี้

1. โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)

 
     เป็นโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ลักษณะการทำงานของเครือข่าย โทโปโลยีแบบบัส คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า"บัส" (BUS) เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย จะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบัสว่างหรือไม่ ถ้าหากไม่ว่างก็ไม่สามารถจะส่งข้อมูลออกไปได้ ทั้งนี้เพราะสายสื่อสารหลักมีเพียงสายเดียว ในกรณีที่มีข้อมูลวิ่งมาในบัส ข้อมูลนี้จะวิ่งผ่านโหนดต่างๆ ไปเรื่อยๆ ในขณะที่แต่ละโหนดจะคอยตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาว่าเป็นของตนเองหรือไม่ หากไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้ข้อมูลวิ่งผ่านไป แต่หากเลขที่อยู่ปลายทาง ซึ่งกำกับมากับข้อมูลตรงกับเลขที่อยู่ของของตน โหนดนั้นก็จะรับข้อมูลเข้าไป



ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีแบบบัส

ข้อดี 
1. ใช้สายส่งข้อมูลน้อยและมีรูปแบบที่ง่ายในการติดตั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและบำรุงรักษา
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในเครือข่ายได้ง่ายข้อเสีย

ข้อเสีย
1. ในกรณีที่เกิดการเสียหายของสายส่งข้อมูลหลัก จะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. การตรวจสอบข้อผิดพลาดทำได้ยาก ต้องทำจากหลาย ๆจุด

2. โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)

 
     เป็นการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้ากันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารจะถูกส่งจากโหนดหนึ่งไปยังอีกโหนดหนึ่ง วนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน (ในระบบเครือข่ายรูปวงแหวนบางระบบสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทาง) ในแต่ละโหนดหรือสถานี จะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการ สื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล สำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป




ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปวงแหวน

ข้อดี
1. การส่งข้อมูลสามารถส่งไปยังผู้รับหลาย ๆ โหนดพร้อมกันได้ โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลง ในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะตรวจสอบเองว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่
2. การส่งข้อมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล

ข้อเสีย
1. ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้ง เครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสาร
2. เมื่อโหนดหนึ่งต้องการส่งข้อมูล โหนดอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้เสียเวลา


3. โทโปโลยีรูปดาว (Star Topology)


      เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายรูปดาว หลายแฉก โดยมีสถานีกลาง หรือฮับ เป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย สถานีกลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้ จึงไม่มีโอกาสที่หลายๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล เครือข่ายแบบดาว เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน




ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแบบดาว

ข้อดี
1. การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย
2. หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และเนื่องจากใช้อุปกรณ์ 1 ตัวต่อสายส่งข้อมูล 1 เส้น ทำให้การเสียหายของอุปกรณ์ใดในระบบไม่กระทบต่อการทำงานของจุดอื่นๆ ในระบบ
3. ง่ายในการให้บริการเพราะโทโปโลยีแบบดาวมีศูนย์กลางทำหน้าที่ควบคุม

ข้อเสีย
1. ถ้าสถานีกลางเกิดเสียขึ้นมาจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้
2. ต้องใช้สายส่งข้อมูลจำนวนมากกว่าโทโปโลยีแบบบัส และ แบบวงแหวน
3. โทโปโลยีแบบผสม (Hybridge Topology)
เป็นเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลแบบผสมระหว่างเครือข่ายแบบใดแบบหนึ่งหรือมากกว่า เพื่อความถูกต้องแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการและภาพรวมขององค์กร

อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6


1.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย

- ความถูกต้อง(Accuracy)
               จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น

- มีความเป็นปัจจุบัน(Update)
               ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง

- ตรงตามความต้องการ(relevance)
                ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้

- ความสมบูรณ์(Complete)
                ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์

- สามารถตรวจสอบได้(Verifiable)
                ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้

5.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร

-ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้ มีวิธีแก้ไขคือใช้วิธีการจัดเก็บรวบรวมแฟ้มข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมาจัดเรียงรวมกันเสียใหม่อย่างเป็นระบบเพื่อให้สะดวกต่อการค้นหาและเรียกใช้ข้อมูลร่วมกัน โดยจัดทำเป็น ระบบฐานข้อมูล นั่นเอง

8.เหตุใดจึงต้องนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ

-เพราะการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงานนั้นจะช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลบนเว็บสำหรับการเก็บข้อมูลสินค้า ข้อมูลการซื้อ ข้อมูลยอดขาย เป็นต้น

10.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล

-เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก๊สามารถดูแลรักษาฐานข้อมูลได้รวมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วย อีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆสามารถทำได้ง่ายดาย ซึ่งมีภาษาการจัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะของตนเอง

12.ความสามารถทั่วไปของ DBMS มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

- คุณสมบัติหรือความสามารถโดยทั่วไปของ DBMS พอสรุปได้ดังนี้
      สร้างฐานข้อมูลโดยปกตินั้น การออกแบบฐานข้อมูลอาจต้องมีการเก็บข้อมูลหรือขั้นตอนการทำงานของระบบที่จะพัฒนาเสียก่อนเพื่อให้ทราบได้ว่าต้องการฐานข้อมูลอะไรบ้าง ตารางที่จัดเก็บมีกี่ตาราง จากนั้นจึงนำเอามาสร้างเป็นฐานข้อมูลจริงใน DBMS ทั่วโป โดยผ่านเครื่องมือที่มีอยู่ในโปรแกรมซึ่งอาศัยภาษา SQLในการสั่งงาน- เพิ่ม เปลี่ยนแปลงแก้ไขและลบข้อมูลฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วย DBMS นั้น สามารถเพิ่มค่า เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลต่างๆได้ทุกเมื่อโดยเข้าไปจัดการได้ที่ DBMS โดยตรง เช่น เพิ่มค่าเรคอร์ดบางเรคอร์ดที่ตกหล่น ลบหรือแก้ไขข้อมูลบางเรคอร์ดที่ต้องการ เป็นต้น- จัดเรียงและค้นหาข้อมูลDBMS สามารถจัดเรียงข้อมูลได้โดยง่าย ซึ่งสามารถเลือกได้ว่าจะให้จัดเรียงแบบใด เรียงข้อมูลจากค่าน้อยไปหาค่ามากหรือเรียงตามลำดับวันเวลา เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถระบุค่าเพียงบางค่าเพื่อค้นหาข้อมูลได้โดยง่าย เช่น ป้อนอักษร A เพื่อค้นหาข้อมูลสินค้าที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A ได้ เป็นต้น- สร้างรูปแบบและรายงาน การแสดงผลบนหน้าจอ (form) และพิมพ์ผลลัพธ์รายการต่างๆออกมาเป็นรายงาน (report) เป็นอีกคุณสมบัติหนึ่งที่ DBMS สามารถทำได้ ช่วยให้ผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดังกล่าว สามารถตรวจสอบหรือแก้ไขรายการที่มีอยู่นั้นได้โดยง่าย